วันพุธที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553

งานไม้

งานไม้


 ความปลอดภัย
            ความ ปลอดภัยนับว่าเป็นความสำคัญอย่างหนึ่งในการทำงาน เมื่อใดที่เข้าทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมหรือบริษัท จะต้องปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยก่อนเป็นอันดับแรก ความปลอดภัยถูกตั้งขึ้นโดยสภานิติบัญญัติ ผ่านหน่วยงานการป้องกันความปลอดภัยและสุขภาพตามพระราชบัญญัติ มีการวางระเบียบการป้องกันของลูกจ้างในรูปแบบของการททำงานการนำกฎเกณฑ์ต่างๆ มาปฏิบัติ ปัจจุบันได้นำมาประยุกต์ในโรงเรียนด้วย นอกจากนี้ยังได้กำหนดกฎเกณฑ์ในเรื่องของงการรักษามลภาวะทางเสียงและอากาศ เพิ่มเข้าไปในมาตรฐานความปลอดภัยด้วย
            ในการทำงานไม้จะต้องเตรียมความพร้อมเสมอในเรื่องความปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือเครื่องจักรกลต่างๆ และพื้นที่ทำงาน เพราะบางครั้งการทำบางสิ่งโดยไม่ไตร่ตรองอาจเกิดอุบัติเหตุได้โดยไม่รู้ตัว การทำงานที่ประมาทจะเป็นอันตรายอย่างยิ่ง หรือให้เกิดความผิดพลาดต่องานได้ ก่อนที่จะเริ่มทำงานจึงควรปฏิบัติดังนี้
-         เรียนรู้เรื่องกฎความปลอดภัย
-         ทำงานตามขั้นและเวลา
-         รู้ว่าส่วนไหนและวิธีการป้องกันเมื่อเกิดอุบัติเหตุ
  
ความปลอดภัยในการทำงาน
1.      ทำงานตามขั้นตอนที่ถูกต้อง
2.      ปรึกษาผู้ให้คำแนะนำในการททำงาที่ถูกต้องและปลอดภัย
3.      อย่าลืมคำว่า ความถูกต้อง ต้องมาเป็นอันดับแรก
4.      คำขวัญที่ดีกล่าวได้ว่า สิ่งที่ดีที่สุดคือ ความปลอดภัย
5.      หลีกเลี่ยงการเล่นอย่างคึกคะนอง และให้ความสนใจป้ายเตือนต่างๆ ในโรงเรียน
  
การป้องกันตัวในการทำงาน
1. เสื้อผ้าที่หลวมจะโดนเครื่องจักรดึงหรือกระชากได้ เสื้อที่มีแขวนยาวควนติดกระดุมข้อมือให้แน่น หรือพับให้ถึงข้อศอก เสื้อผ้าที่ควรใช้ทำงานไม่ควรเป็นเสื้อแขนสั้นหรือเสื้อฝึกงาน
2.      ควรถอดแหวน นาฬิกา และเครื่องประดับอื่นๆ ก่อนที่จะทำงานกับเครื่องมือ และเครื่องจักร
3.   ควรสวมแว่นป้องกันแสงหรือป้องกันสายตา ประกอบด้วยเครื่องบังเพื่อป้องกันดวงตาจากเศษไม้ ตะปู ขี้เลื่อย และรอยเปื้อนต่างๆ ดังรูปที่ 2.3
4.      ควรสวมเสื้อป้องกันหูเมื่อทำงานรอบๆ เครื่องจักรในระยะเวลานานๆ
5.   ควรเก็บหรือรวบรวมผมที่ยาวให้ห่างจากเครื่องจักรที่กำลังทำงาน การผูกผมไว้ด้านหลังหรือใช้ผ้าคลุมผม จะช่วยป้องกันอุบัติเหตุได้ส่วนหนึ่ง

การใช้เครื่องมือ

           1.   เรียนรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือที่ถูกต้อง และเข้าใจกฎความปลอดภัยของเครื่องมือและเครื่องจักรที่ซื้อมา ตลอดจนเรียนรู้คำเตือนจากป้ายสัญญาณ เช่น ป้ายหยุด

2.   เครื่องตัดไม้ที่คมจะช่วยให้ทำงานได้ง่ายและดี ส่วนใบมีดที่ไม่คมจะทำให้ลื่นและอาจพลาดไปถูกส่วนต่างๆ ของร่างกายได้
3.      ไม่ควรทดสอบความคมของเครื่องมือด้วยอวัยวะของร่างกาย แต่ควรใช้ไม้หรือกระดานแทน
4.      นิ้วมือควรจะให้ห่างจากคมมีดของเครื่องมือ และใช้ไม้หรือวัสดุอื่นตัด 
5.      ต้องระวังเป็นพิเศษเมื่อใช้นิ้วหรือมือในการสตาร์ตเครื่องจักร
6.   ต้องมั่นใจว่าเครื่องจักรที่ใช้อยู่ในสภาพดี ควรตรวจสอบความเรียบร้อยว่าไม่แตกหักหรือหลวม เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น
7.   ต้องไม่ใช้เครื่องมือผิดวิธี เช่น ไม่ควรใช้สิ่วเปิดกล่องไม้หรือกระป๋อง ต้องใช้เครื่องมือให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายเฉพาะอย่าง

การเก็บรักษาเครื่องมือ

1.      ดูแลรักษาความสะอาดบนโต๊ะฝึกงานและพื้นที่รอบๆ
2.      เก็บเครื่องมือให้เรียบร้อยเมื่อใช้งานเสร็จ
3.      ตรวจสอบเครื่องมือด้วยน้ำมันหรือจาระบี เพื่อรักษาเครื่องมือที่เป็นโลหะ
4.      ควรเก็บเศษวัสดุดิบใส่ในกล่องหรือถังเก็บ
5.   ทำความสะอาดทุกครั้งเมื่อเสร็จงาน เพราะความสะอาดในโรงงานเป็นความปลอดภัยอย่างหนึ่ง
 

การรายงานอุบัติเหตุ

            การรายงานอุบัติเหตุต่างๆ ไม่ใช่สิ่งสำคัญเพียงเล็กน้อย และสิ่งที่ช่วยกันอันดับแรก คือ เมื่อมีแผลที่เกิดจากการตัดหรือขีดข่วน ซึ่งจะทำให้เชื้อ โรคเข้าไปในบาดแผลได้ หรือบางสิ่งบางอย่างเข้าตาแม้เพียงเล็กน้อย ต้องไปให้แพทย์ตรวจทันที
 การวัดและการออกแบบ

            เมื่อเริ่มแรกมนุษย์ทำการวัดโดยใช้ส่วนต่างๆ ของร่างงกายหรือวัตถุธรรมชาติอื่นๆ โดยมีหน่วยการวัด เช่น 1 ศอก คือระยะทางจากข้อศอกถึงปลายนิ้ว แต่งเนื่องจากระยะหนึ่ง 1 ศอกของแต่ละคนไม่เท่ากัน จึงไม่เกิดความแน่นอนในการวัด หรือ 1 ฟุต ใช้เท้าของพระมหากษัตริย์วัด ซึ่งก็อาจจะได้ความยาวที่ผิดไป ต่อมาหน่วยการวัดเริ่มมีมาตรฐานขึ้นโดยชาวอียิปต์ได้กำหนดความยาว 1 ศอก ของพระมหากษัตริย์โดยวัดจากหินแกรนิตที่เรียงกัน ส่วน 1 ศอก อื่นๆ ใช้กิ่งไม้วัด แล้วนำมาเปรียบเทียบกัน จนได้ความยาวเหมือนจริงมากที่สุด และกลายเป็นระบบการวัดของโลก ในมาตรฐานอังกฤษอังกฤษมีหน่วยการวัดเป็นฟุต (Foot) และปอนด์ (Pound)
            ในปี 2243 นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสชื่อนโปเลียน ได้คิดคิดค้นระบบการวัดใหม่ เรียกว่า ระบบเมตริกจากพื้นฐานของความเชื่อที่ได้จากขนาดของโลก และได้มีการพัฒนาปรับปรุงได้ดีขึ้น ในปัจจุบันเรียกระบบเมตริกว่า ระบบ SI ทุกวันนี้ประเทศส่วนใหญ่นิยมใช้ระบบเมตริก ดังนั้นในการศึกษาระบบการวัดจึงควรได้มีการศึกษาทั้ง 2 ระบบ เพื่อการเปรียบเทียบเช่น
-         เมตร (Metre) เป็นหน่วยของความยาว ที่ยาวกว่า 1 หลา (Yard) เล็กน้อย (ประมาณ 39.37 นิ้ว)
-     กิโลกรัม (Kilogram) เป็นหน่วยวัดน้ำหนัก (Mass) มากกว่า 2 ปอนด์เล็กน้อย (ค่าจริง 2.2 ปอนด์)
-     ลิตร (Litre) เป็นหน่วยที่ใช้วัดความจุของเหลว หรือปริมาตรมากกว่า 1 ควอท (Quart) เล็กน้อย (ประมาณ 1,06 ควอท)
-     องศาเซลเซียส (Degree celsius) เป็นหน่วยวัดอุณหภูมิ บนมาตราส่วนนี้ มีจุดเยือกแข็งอยู่ที่ 0 C และจุดเดือดอยู่ที่ 100 C ส่วนองศาฟาเรนไฮต์ (Degree fahrenheit) ทำเป็นองศาเซลเซียสได้โดยลบออก 32F และหารด้วย 1.8
ระบบเมตรริกเป็นระบบทศนิยม เป็นหน่วยพื้นฐานของผลคูณด้วย 10 การบ่งบอกหน่วยใหญ่หรือเล็ก
จะเพิ่มคำนำหน้า เช่น กิโล เซนติ และมิลลิ มีหน่วยของคำว่าเมตร ตัวอย่างเช่น กิโลเมตร คือ 1000 ครั้งของเมตร เซนติเมตร คือ 100 ครั้งเล็กกว่าเมตร (1 ใน 100 ของเมตร) และมิลลิเมตรคือ 1000 ครั้งเล็กกว่าเมตร (1 ใน 1000 ของเมตร) คำทั้งสามนี้มักใช้ร่วมกันอยู่เสมอในหน่วยการวัด คำนำว่า และชื่อของหน่วย สามารถทำให้สั้นลงโดยใช้สัญลักษณ์ 
 

Prefix

Symbol
Meaning
Giga
G
one billion times
Mega
M
one million times
Kilo
K
one thousand times
Centi
C
one-hundredth of
Milli
M
one-thousandth of
Micro
U
one-millionth of
Nano
N
one-billionth of
Note: Some prefixes are capitalized so that they won’t be confused with metric units. For example, but g =gram
  
การเปรียบเทียบระบบอังกฤษและระบบเมตริก
            ในงานไม้ระบบการวัดระยะในระบบอังกฤษจะเป็น”,12” (ฟุต) และ 36” (หลา) ส่วนระบบเมตริกใช้เป็น 150 มม. (15 ซม.), 300 มม. (30 ซม.) และ 1 การเปรียบเทียบจากรูปภาพพบว่าความยาว 12” จะยาวกว่า 300 มม. เล็กน้อย การแบ่งมาตราส่วนใน 1 นิ้วของอังกฤษจะหารด้วย 1/8” หรือ 1/16” ส่วนของเมตริกจะแบ่งเป็น 10 ส่วน เท่ากับ 1 ซม. หารออกด้วย 10 จะได้มิลลิเมตร (10 มม.= 1 ซม.) 
            เครื่องมือและอุปกรณ์ในงานไม้สำหรับการวัดในการใช้หน่วยเมตริก ดังรูปที่ 3.7 เป็นเครื่องมือที่สามารถสร้างทดแทนได้ เครื่องมือและอุปกรณ์บางชนิดไม่สามารถเปลี่ยนแปลงขนาดรูปร่างได้ เช่น เลื่อย สิ่ว หรือค้อน เป็นต้น  สำหรับเครื่องจักรกลในงานไม้ก็เช่นเดียวกันไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ และในการผลิตนิยมใช้หน่วยเมตริกเป็นหลัก
   
การออกแบบ
            การออกแบบ (Design) ในงานไม้ คือการตัดสินใจที่จะเลือกสำหรับชิ้นงาน เพื่อให้เป็นไปตามจุดประสงค์ของผู้ผลิตที่ได้ตั้งไว้ เปรียบกับเวลาคุณไปซื้อจักรยาน คุณจะต้องเลือกสี ขนาด ตามที่คุณต้องการและถูกใจ นอกจากนี้คุณอาจททดลองหมุนหรือจับล้อ และขอบล้อ แม้กระทั้งการทดสอบเบรก เมื่อพิจารณาดีแล้ว คุณจึงตัดสินใจซื้อ การออกแบบก็เช่นเดียวกัน ชิ้นงานที่ออกมาจะต้องสวยงาม มีประโยชน์ และมีประสิทธิภาพในการทำงานอย่างเต็มที่ การออกแบบงานไม้ไม่ใช่เรื่องง่ายและควรอาศัยดูจากนิตยสาร หรือหนังสือต่างๆ ที่จะช่วยได้มากขึ้น จนมีความชำนาญในการตัดสินใจตัวอย่างเช่น การออกแบบตู้เครื่องเสียง  เป็นการออกแบบจากการใช้ความแตกต่างของช่องว่างให้เหมาะสม ซึ่งจะได้ทั้งความสวยงามและประโยชน์อย่างเต็มที่  
อะไรที่ทำขึ้นเพื่อการออกแบบ
            การออกแบบเป็นการสร้างส่วนประกอบที่ แน่นอน โดยนำมาประกอบกันจนเกิดเป็นรูปร่างหรือชิ้นงานขึ้น การสร้างส่วนประกอบต้องอาศัยสิ่งต่อไปนี้
            เส้น (Line) เส้นเมื่อล้อมลอบช่องจะสร้างรูปร่างขึ้น เส้นสามารถบอกความรู้สึกได้ เช่นเส้นตามแนวขวางดูสงบเงียบ เส้นตั้งให้ความรู้สึกมีอำนาจ และเส้นเอียงดูเหมือนกับความก้าวร้าว เส้นแบบคลื่นสร้างความเคลื่อนไหวและมีจังหวะ ดังรูปที่ 3.11
            รูปร่าง (Shape) เป็น ช่องล้อมลอบด้วยเส้น อาจเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมผืนผ้า รูปหกเหลี่ยม และรูปแปดเหลี่ยม รูปเหล่านี้สามารถนำมาออกแบบเป็นงานไม้ที่สวยงามและเกิดประโยชน์ได้ ดังรูปที่ 3.12
            แบบ (Form) รูปร่างเป็นส่วนประกอบที่นำมาใช้ทำแบบ เช่น สี่เหลี่ยมลูกบาศก์ ปิรามิด หรือวงรี ซึ่งสามารถมองเห็นเป็น 3 มิติ (Three-dimensional) หมายถึง ความสูง ความกว้าง และความลึก
            สี (Color) นับว่ามีความสำคัญในการออกแบบ สีที่ให้ความรู้สึกอบอุ่นคือ สีแดง เหลือง และส้ม สีเขียวและสีน้ำเงินให้ความรู้สึกเย็น สีของไม้ถือว่าเป็นสีธรรมชาติที่ให้ความสวยงาม ซึ่งอาจไม่ต้องใช้สีช่วย แต่ไม้บางชนิดสีไม่สวยงามก็จะใช้สีย้อมสี หรือทาเคลือบ นอกจากี้การทำสีให้เกิดความมเงางามจะช่วยทำให้ชิ้นงานดูมีค่าและสวยงามมากขึ้น ดังรูปที่ 3.13

  วัสดุในงานไม้

            เราไม่สามารถกำหนดได้ว่าการเริ่มทำงานไม้ในโรงงานอย่างไรจึงจะดี ดังนั้นหากได้เรียนรู้เกี่ยวกับไม้ที่ใช้  จะช่วยให้ได้งานออกมาสวยงาม มีคุณภาพ การซื้อไม้ดีๆ จากโรงงาจะช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่าย วัสดุที่ได้ก็ไม่ด้อยคุณภาพ ในบทนี้จะขอกล่าวถึงวัสดุของงานไม้ที่นิยมใช้กัน

เเหล่งอ้างอิง 

http://www.st.ac.th/engin/wood.html

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ9 เมษายน 2565 เวลา 01:46

    Casino - Bracket betting guide for your chance to win
    The Casino is a unique casino herzamanindir.com/ that has https://octcasino.com/ been around for over a decade. poormansguidetocasinogambling.com It has managed to offer great 바카라 사이트 games such as Blackjack, Roulette and Video Poker,

    ตอบลบ