ช่างปูน เป็นช่างประเภทหนึ่งในจำพวกช่างสิบหมู่ งานของช่างปูน เป็นงานสร้างทำอาคารสถานชนิดเครื่อง ก่อประเภท เจติยสถานและศาสนสถานต่างๆ เช่น พระสถูปเจดีย์ พระพุทธปรางค์เจดีย์ พระอุโบสถ พระวิหาร ฐานชุกชี ซุ้มคูหา กับได้ทำพระมหาปราสาท พระราชมณเฑียร แท่นฐาน เกยราชยาน ประตู เครื่องยอดต่างๆ ใบเสมา กำแพงและป้อมปราการ เป็นต้น และงานของช่างปูนยังเนื่องด้วยการปั้นปูนอีกด้วย
งาน ปูน จัดเป็นงานช่างเก่าแก่ จำพวกหนึ่งที่ในสยามประเทศนี้ ทั้งนี้พึงเห็นได้จากซากโบราณสถานประเภท เจติยสถาน ชนิดเครื่องก่ออิฐถือปูนทำลวดบังประกอบส่วนต่างๆ อย่างประณีตแสดงฝีมือและความสามารถช่างปูน ชั้นสูง แต่ทว่าหลักฐานความเป็นมาของช่างปูนรุ่นเก่าๆ นั้นไม่สู้มีหลักฐานสิ่งอื่นๆ แสดงให้ทราบได้ว่าเป็นช่างพวก ใดเป็นผู้สร้างทำ นอกเสียจากรูปแบบที่แสดงฝีไม้ลายมือฝากไว้เท่านั้น
งานปูน หรืองานช่างปูนแต่สมัยก่อน มีชื่อเรียกเป็นคำเก่าอีกอย่างหนึ่งว่า "สทายปูน" งานของช่างปูน อาจจำแนกลักษณะงานของช่างปูนออกได้เป็น ๒ ลักษณะ ด้วยกันคือ
ช่างปูนงานก่อ
ช่าง ปูนจำพวกนี้ ทำงานในลักษณะการก่อวัสดุชนิดต่างๆ เช่น อิฐ หิน ศิลาแลง เป็นต้น ขึ้นเป็นรูปทรงสิ่ง ต่างๆ ตั้งแต่ขนาดเล็ก เช่น ก่อเขามอขึ้นอ่าง ไปจนกระทั่งก่อพระสถูปเจดีย์ ก่อพระพุทธปรางค์เจดีย์ หรือได้ทำการ ในด้านบูรณะปฏิสังขรณ์ เครื่องหิน เครื่องอิฐก่อที่ชำรุดให้คืนดีขึ้นดั่งเดิม
ช่างปูนงานลวดบัว
ช่าง ปูนจำพวกนี้ ทำงานในลักษณะการถือปูนทำผิวเป็นลวดบัวแบบต่างๆ เช่น บัวคว่ำ บัวหงาย บัวหลังเจียด บัวปากปลิง บัวลูกแก้ว บัวอกไก่ สำหรับประกอบทำฐานลักษณะต่างๆ เป็นต้นว่า ฐานเชิง บาตร ฐานเท้าสิงห์ ฐานปัทม์ ฐานเฉียง ฐานบัวจงกล ฯลฯ หรือทำการถือปูนจับเหลี่ยมเสาแบบต่างๆ คือ เสาแปดเหลี่ยม เสาย่อมุมไม้สิบสอง เสากลม เป็นต้น
งานปูนที่เป็นงานในหน้าที่ของช่างปูนดังกล่าวมีวัตถุปัจจัยสำคัญ สำหรับงาน คือ ปูน ซึ่งช่างปูนได้ใช้ในงาน ก่อ ฉาบ และถือปูนเป็นสิ่งต่างๆ มาแต่โบราณ การผสมปูนนี้ ช่างปูน บางคนได้ผสมเนื้อปูนให้มีคุณภาพเหนียวและ คงทนถาวรอยู่ได้นานปี บางคนใช้กระดาษฟางบ้าง หัวบุบุก หัวกลอยบ้าง แม้หัวต้นกระดาษก็ใช้ตำผสมเข้ากับเนื้อ ปูน เพื่อช่วยเสริมความเหนียวและยึดตัวดี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเชื่อและประสบการณ์ของช่างปูนแต่ละคน
งานช่างปูนนี้ เมื่อจะทำการคราวหนึ่งๆ จึงทำปูนขึ้นเฉพาะงานคราวนั้น จะทำเตรียมไว้ล่วงหน้านานเป็นแรม เดือนไม่ได้ การทำปูนเตรียมไว้สำหรับงานก่อ ฉาบ จับ ถือปูนเป็นงานค่อนข้างหนักแรง เพราะต้องใช้แรงตำปูนกับ สิ่งที่ผสมร่วมกันนานกว่าจะเข้าเป้นเนื้อเดียวและเหนียวได้ที่ ในการงานช่วงนี้ มักเป็นภาระหน้าที่ของลูกมือ ช่างปูนตำปูนให้แก่ช่างปูน แต่ในบางกรณีที่ช่างปูนได้ทำงานก่อ งานปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม ที่เป็นงานของหลวง อุปถัมภ์การพระศาสนา มักมีชาวบ้านสมัครมาช่วยตำปูน เป็นการร่วมทำบุญสร้างกุศลด้วยการโขลกตำปูนถวายวัด บุญกิริยาเช่นนี้ จึงเกิดเป็นธรรมเนียมขึ้นในสมัยก่อน เมื่อมีการสร้างหรือซ่อมปูชนียสถาน หรือศาสนสถานอย่างหนึ่ง อย่างใดที่เป็นชนิดเครื่องก่อขึ้นในวัด ชาวบ้านวัยหนุ่มวัยสาวจะสมัครมาช่วยกันตำปูนเตรียมไว้สำหรับช่างปูน จะได้ใช้งานตำปูนนี้จะทำกันในตอนหัวค่ำภายหลังเสร็จธุระประจำวันแล้ว ตั้งครกตำปูนเรียงรายกันหลายๆ ลูกครก ตำปูนนี้โดยมากใช้ครกกระเดื่องซึ่งจะช่วยผ่อนแรงตำได้มาก เมื่อตำปูนเหนียวได้ที่ครกหนึ่งๆ ก็ตักเอาไปพักไว้ใน อ่างดิน เอาผ้าหรือฟางชุบน้ำคลุมปิดไว้ให้ปูนชื้นพอแก่เวลาที่ช่างปูนจะมาเอาไปใช้ใน วันรุ่งขึ้น อนึ่ง ปูนที่จัดการ โขลกตำเตรียมไว้นี้ยังไม่ต้องใส่เชื้อน้ำตาล จะใส่เชื้อน้ำตาลก็ต่อเมื่อช่างปูนจะใช้ปูน จึงใส่เชื้อดังกล่าวเอาเองตาม ส่วนหรือขนาดที่เข้าใจ ธรรมเนียมชาวบ้านช่วยตำปูนถวายวัดนี้ นอกเสียจากเป็นบุญกิริยาแล้วยังอาจกล่าวได้ว่า เป็นโอกาสสำหรับคนหนุ่มสาวได้มาสมาคมกันได้โดยผู้ใหญ่ไม่สู้เดียดฉันท์
ช่างปูนที่เป็นช่างปูนงานก่อก็ดีช่างปูนงานลวดบัวก็ดี ช่างประเภทนี้ ใช้เครื่องมือที่จำเป็นอยู่ ๒-๓ อย่าง คือ
เกรียงเหล็ก ขนาดต่างๆ
เกรียงไม้
ประทับหรือบรรทัด ถือลวดบัว หรือจับเหลี่ยม
ครก และสากไม้
ตะแกรง สำหรับร่อนปูน และทราย
อ่างดิน สำหรับพักหรือหมักปูน
ช่างปูน เป็นช่างฝีมือที่ได้ใช้ความสามารถของฝีมือสร้างทำปูนให้เป็นรูปลักษณ์ที่ ประกอบไปด้วยศิลป ลักษณะ มีความงามและคุณค่าเชิงประณีตศิลป์ ฉะนี้ช่างปูนจึงได้รับการยอมรับและจัดรวมเข้าในหมู่ช่างสิบหมู่ด้วย สาระสำคัญของช่างปูนตามที่ได้อธิบายมานี้
ปัจจุบัน ปูนซีเมนต์มีบทบาทในการสร้างที่อยู่อาศัย ถนน และอื่น ๆ อีกมากมาย โดยเฉพาะงานโครงสร้างใหญ่ ๆ ที่ต้องการความคงทนแข็งแรงสูง เช่น ตึกสูง ๆ สะพานข้ามแม่น้ำเป็นต้น นับว่างานปูนมีความสำคัญไม่น้อย ในการอำนวยความสะดวกสบายให้กับมนุษย์ งานปูนเป็นงานที่ต้องใช้เวลาในการแข็งตัว ขณะเดียวกันช่างปูนต้องทำงานแข่งกับเวลา และต่อเนื่องจนงานแล้วเสร็จ หากมีการผสมปูนหรือคอนกรีตไว้แล้ว ลักษณะที่ดีของช่างปูน จะต้องเป็นผู้มีทักษะ ความชำนาญเป็นพิเศษเกี่ยวกับการก่ออิฐ ฉาบปูน รู้จักเลือกชนิดของปูนซีเมนต์มาใช้งานใด้อย่างเหมาะสม มีความรู้เกี่ยวกับอัตราส่วนของการผสมปูน การอ่านแบบ ออกแบบ คิดคำนวณได้อย่างถูกต้อง ตลอดจนเป็นผู้มีความขยัน อดทนมากเป็นพิเศษ เพราะลักษณะการทำงานของงานช่างปูน เป็นงานที่หนักมาก ทำงานทั้งในสถานที่ต่ำ และสถานที่สูง ๆ มีความรับผิดชอบต่องาน ละเอียด รอบคอบ ประณีต และประหยัดช่างปูน จำแนกออกได้ตามลักษณะการทำงาน ดังนี้1. ช่างปูนโครงสร้าง2. ช่างก่ออิฐถือปูน3. ช่างปูนสุขภัณฑ์ 4. ช่างปูนปั้น
ความสำคัญของเครื่องมือช่างปูนการปฏิบัติงานจะประสบความสำเร็จได้นั้นผู้ปฏิบัติงานต้องมีความรู้ความเข้าใจ และทักษะหลายๆด้านผู้ปฏิบัติต้องมีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ต้องมีความตั้งใจในการ ปฏิบัติงาน สิ่งหนึ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานช่าง คือการเรียนรู้เรื่อง เครื่องมือนั่นเอง ถึงแม้ว่าตัวช่างจะมีฝีมือดีเพียงใดก็ตามแต่เครื่องมือไม่พร้อม และไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องมือ งานที่ได้ก็คงจะไม่ดีเท่าที่ควร ดังนั้นในงานช่างปูนผู้ที่จะปฏิบัติงานได้ดีนั้นต้องมีความรู้ความเข้าใจรู้จักวิธีการ ใช้และการบำรุงรักษาเครื่องมือที่ใช้ในงานช่างปูนเป็นอย่างดีเพื่อเป็นการเตรียมความ พร้อมให้กับผู้ปฏิบัติงานให้ปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วในโกาสต่อไปประวัติช่างปูนไทย
งานช่างปูนของไทยแบ่งแยกงานตามส่วนออกเป็น 3 พวกคือ
ประวัติช่างปูนไทย
1.ช่างก่ออิฐ
2.ช่างปูน
3.ช่างปั้นอิฐ
1.ช่างก่ออิฐเป็นช่างฝีมืออย่างหยาบ ๆ โบราณเรียกช่างพวกนี้ว่า ช่างประดิษฐ์ การทำงานของช่างพวกนี้เป็นเเต่เพียงเรียงอิฐ ปูนสอ ก่อเป็นหุ่นเป็นโครงสร้างอย่างหยาบ ๆ ตัวอย่างเช่น ก่อกำแพง หุ่นฐานพระ ก่อเจดีย์ ฯ หรือถ้าฝึกฝีมือได้สูงขึ้นก็อาจก่อซ่อมหุ่นพระพุทธรูปศิลาที่ชำรุดให้คืนคงดี
2. ช่างปูน เป็นช่างฝีมือปานกลาง โบราณเรียกสหายปูนคือช่างโบกฉาบปูนทำพื้นผนังทำลายบัวต่าง ๆ
3.ช่างปั้นปูน เป็นช่างฝีมือสูงกว่าช่าง 2 พวกแรกช่างปั้นปูนนั้นสามารถสร้างทำงานได้อย่างปราณีต และสามารถในการสร้างสรรค์ เป็นงานศิลปกรรมได้อีกด้วยงานของช่างปั้นปูนแต่ก่อนแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
3.1 ช่างปั้นปูนเป็นรูปภาพปฏิมากรรมต่าง ๆ มีทั้งพุทธปฏิมา เทาปฏิมา รูปภาพอมนุษย์ รูปภาพสัตว์ฯ
ทำขึ้นเพื่อเป็นรูปเคารพ หรือใช้ประดับตกแต่ง เช่น ปั้นยักษ์ตั้งคู่เคียงประตู ทางเข้าวัด
3.2 ช่างปั้นปูน ทำเป็นรูปลวดลายต่าง ๆ ใช้ประดับตกแต่งพื้นทีว่าง ทำเป็นกรอบ ทำเป็นซุ้มประตูหน้าต่าง ประดับเป็นหัวเสา ปั้นประดับฐานพระปรางค์ สถูป ฐานพระพุทธปฏิมา
เครื่องมือและอุปกรณ์การช่าง 1.ไม้แบบ ใช้ในการหล่อแผ่นคอนกรีต โดยทั่วๆ ไปแล้วสามารถหาวัสดุหลายชนิดนำมาทำเป็นไม้แบบได้ เช่น เหล็กแผ่น อลูมิเนียมแผ่น สังกะสีแผ่นเรียบ สังกะสีลูกฟูก กระดาษแข็ง พีวีซีแผ่นไม้อัด ไม้ วัสดุที่กล่าวมานี้ อาจใช้วัสดุจากส่วนที่เหลือจากงานอื่น ๆได้ การทำไม้แบบไม่จำเป็นจะต้องทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมเสมอไป อาจนำมาตัด, ดังแปลง ตามแนวความคิดของแต่ละบุคคล อาจจะเป็นรูปวงกลม รูปสี่เหลี่ยม รูปห้าเหลี่ยม รูปหกเหลี่ยม รูปแปดเหลี่ยม และรูปอื่น ๆ ก็ได้ สำหรับไม้แบบที่จะกล่าวในบทความนี้ผู้เขียนขอแนะนำให้ใช้ไม้ฉำฉา ซึ่งได้มาจากไม้ที่เป็นลังเป็นกล่องไม้ที่ใช้บรรจุสินค้ามาจำหน่ายแล้วทิ้ง กล่องไม้นี้ตามข้างถนนหรือที่บางแห่ง ซึ่งไม้ต้องการใช้อีกแล้วนำมาใช้ประโยชน์ทำไม้แบบในงานนี้ได้ ขนาดของไม้ฉำฉาที่ต้องการควรมีความหนา 1/2" กว้าง 2" ยาว 40 เซนติเมตร จำนวน 2 ท่อน และยาว 60 เซนติเมตร จำนวน 2 ท่อน นำมาไสให้เรียบทั้ง 4 ด้านและให้ได้ฉาก พยายามให้มีขนาดหนาที่สุดเท่าที่จะทำได้ ความกว้างต้องเท่ากันทุกท่อนคือประมาณ 5 เซนติเมตร ตวามยาว 40 เซนติเมตรจำนวน 2 ท่อน และความยาว 60 เซนติเมตร จำนวน 2 ท่อน ไม้ทั้ง 4 ท่อน นี้ควรไสให้ตรง ได้ฉากเพื่อจะประกอบกันง่ายขึ้น ไม้ดังกล่าวนี้ต้องไม่แตกร้าว บิดงอ มีตำหนิมากและรอยตำหนิใหญ่ ถ้าไม่มีตำหนิเลยยิ่งดี เป็นไม้ที่แห้งไม่เปื้อนเปรอะสี, น้ำมัน, ดิน, โคลน, กาว ควรเป็นไม้ที่มีผิวเกลี้ยงสะอาด เพื่อจะได้เป็นไม้แบบที่สมบูรณ์ที่สุด
2.. กบล้างกลาง ใช้ในการไสไม้ให้ได้ขนาดตามที่ต้องการ3. ฉากตายขนาด 12" ใช้ในการจับ ฉากของไม้ วัดฉากและขีดเส้นก่อนทำการตัดไม้ 4. ขอขีด ใช้ในการขีดไม้ให้ได้ขนาดตามที่ต้องการแล้วใช้กบไสให้ได้ตามแนวขอขีดนั้น5. ดินสอช่างไม้ ใช้ขีดเส้นตามตำแหน่งที่ต้องการ
6.บรรทัดยาวหรือบรรทัดปาดปูน ใช้สำหรับฉาบปูนพื้นที่กว้างๆ
7.ค้อนหง้อนใช้ตอกตะปูตีแบบ
8.เลื่อยลันดาใช้สำหรับเลื่อยไม้
9.เลื่อยอกใช้ตัดไม้เพื่อให้ได้ขนาดตามต้องการ
10.จอบ และพลั่วใช้ขุดดินและคลุกเคล้าส่วนผสม
11.เกรียงเหล็กชนิดสามเหลี่ยมใช้ในการก่ออิฐ
12.เกรียงไม้ ใช้สำหรับตกแต่งหรือกดปูนให้เรียบ
13.แปรงสลัดปูน ใช้สำหรับช่วยในการฉาบปูน
เเหล่งอ้างอิงhttp://thaihandiwork.com/changsipmub2_plastering.php?language=TH
http://www.school.net.th/library/create-web/10000/technology/10000-5972.html http://www.kpsw.ac.th/teacher/thawatchai/page1.htm
ความสำคัญของเครื่องมือช่างปูนการปฏิบัติงานจะประสบความสำเร็จได้นั้นผู้ปฏิบัติงานต้องมีความรู้ความเข้าใจ และทักษะหลายๆด้านผู้ปฏิบัติต้องมีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ต้องมีความตั้งใจในการ ปฏิบัติงาน สิ่งหนึ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานช่าง คือการเรียนรู้เรื่อง เครื่องมือนั่นเอง ถึงแม้ว่าตัวช่างจะมีฝีมือดีเพียงใดก็ตามแต่เครื่องมือไม่พร้อม และไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องมือ งานที่ได้ก็คงจะไม่ดีเท่าที่ควร ดังนั้นในงานช่างปูนผู้ที่จะปฏิบัติงานได้ดีนั้นต้องมีความรู้ความเข้าใจรู้จักวิธีการ ใช้และการบำรุงรักษาเครื่องมือที่ใช้ในงานช่างปูนเป็นอย่างดีเพื่อเป็นการเตรียมความ พร้อมให้กับผู้ปฏิบัติงานให้ปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วในโกาสต่อไปประวัติช่างปูนไทย
งานช่างปูนของไทยแบ่งแยกงานตามส่วนออกเป็น 3 พวกคือ
ประวัติช่างปูนไทย
1.ช่างก่ออิฐ
2.ช่างปูน
3.ช่างปั้นอิฐ
1.ช่างก่ออิฐเป็นช่างฝีมืออย่างหยาบ ๆ โบราณเรียกช่างพวกนี้ว่า ช่างประดิษฐ์ การทำงานของช่างพวกนี้เป็นเเต่เพียงเรียงอิฐ ปูนสอ ก่อเป็นหุ่นเป็นโครงสร้างอย่างหยาบ ๆ ตัวอย่างเช่น ก่อกำแพง หุ่นฐานพระ ก่อเจดีย์ ฯ หรือถ้าฝึกฝีมือได้สูงขึ้นก็อาจก่อซ่อมหุ่นพระพุทธรูปศิลาที่ชำรุดให้คืนคงดี
2. ช่างปูน เป็นช่างฝีมือปานกลาง โบราณเรียกสหายปูนคือช่างโบกฉาบปูนทำพื้นผนังทำลายบัวต่าง ๆ
3.ช่างปั้นปูน เป็นช่างฝีมือสูงกว่าช่าง 2 พวกแรกช่างปั้นปูนนั้นสามารถสร้างทำงานได้อย่างปราณีต และสามารถในการสร้างสรรค์ เป็นงานศิลปกรรมได้อีกด้วยงานของช่างปั้นปูนแต่ก่อนแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
3.1 ช่างปั้นปูนเป็นรูปภาพปฏิมากรรมต่าง ๆ มีทั้งพุทธปฏิมา เทาปฏิมา รูปภาพอมนุษย์ รูปภาพสัตว์ฯ
ทำขึ้นเพื่อเป็นรูปเคารพ หรือใช้ประดับตกแต่ง เช่น ปั้นยักษ์ตั้งคู่เคียงประตู ทางเข้าวัด
3.2 ช่างปั้นปูน ทำเป็นรูปลวดลายต่าง ๆ ใช้ประดับตกแต่งพื้นทีว่าง ทำเป็นกรอบ ทำเป็นซุ้มประตูหน้าต่าง ประดับเป็นหัวเสา ปั้นประดับฐานพระปรางค์ สถูป ฐานพระพุทธปฏิมา
เครื่องมือและอุปกรณ์การช่าง 1.ไม้แบบ ใช้ในการหล่อแผ่นคอนกรีต โดยทั่วๆ ไปแล้วสามารถหาวัสดุหลายชนิดนำมาทำเป็นไม้แบบได้ เช่น เหล็กแผ่น อลูมิเนียมแผ่น สังกะสีแผ่นเรียบ สังกะสีลูกฟูก กระดาษแข็ง พีวีซีแผ่นไม้อัด ไม้ วัสดุที่กล่าวมานี้ อาจใช้วัสดุจากส่วนที่เหลือจากงานอื่น ๆได้ การทำไม้แบบไม่จำเป็นจะต้องทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมเสมอไป อาจนำมาตัด, ดังแปลง ตามแนวความคิดของแต่ละบุคคล อาจจะเป็นรูปวงกลม รูปสี่เหลี่ยม รูปห้าเหลี่ยม รูปหกเหลี่ยม รูปแปดเหลี่ยม และรูปอื่น ๆ ก็ได้ สำหรับไม้แบบที่จะกล่าวในบทความนี้ผู้เขียนขอแนะนำให้ใช้ไม้ฉำฉา ซึ่งได้มาจากไม้ที่เป็นลังเป็นกล่องไม้ที่ใช้บรรจุสินค้ามาจำหน่ายแล้วทิ้ง กล่องไม้นี้ตามข้างถนนหรือที่บางแห่ง ซึ่งไม้ต้องการใช้อีกแล้วนำมาใช้ประโยชน์ทำไม้แบบในงานนี้ได้ ขนาดของไม้ฉำฉาที่ต้องการควรมีความหนา 1/2" กว้าง 2" ยาว 40 เซนติเมตร จำนวน 2 ท่อน และยาว 60 เซนติเมตร จำนวน 2 ท่อน นำมาไสให้เรียบทั้ง 4 ด้านและให้ได้ฉาก พยายามให้มีขนาดหนาที่สุดเท่าที่จะทำได้ ความกว้างต้องเท่ากันทุกท่อนคือประมาณ 5 เซนติเมตร ตวามยาว 40 เซนติเมตรจำนวน 2 ท่อน และความยาว 60 เซนติเมตร จำนวน 2 ท่อน ไม้ทั้ง 4 ท่อน นี้ควรไสให้ตรง ได้ฉากเพื่อจะประกอบกันง่ายขึ้น ไม้ดังกล่าวนี้ต้องไม่แตกร้าว บิดงอ มีตำหนิมากและรอยตำหนิใหญ่ ถ้าไม่มีตำหนิเลยยิ่งดี เป็นไม้ที่แห้งไม่เปื้อนเปรอะสี, น้ำมัน, ดิน, โคลน, กาว ควรเป็นไม้ที่มีผิวเกลี้ยงสะอาด เพื่อจะได้เป็นไม้แบบที่สมบูรณ์ที่สุด
2.. กบล้างกลาง ใช้ในการไสไม้ให้ได้ขนาดตามที่ต้องการ3. ฉากตายขนาด 12" ใช้ในการจับ ฉากของไม้ วัดฉากและขีดเส้นก่อนทำการตัดไม้ 4. ขอขีด ใช้ในการขีดไม้ให้ได้ขนาดตามที่ต้องการแล้วใช้กบไสให้ได้ตามแนวขอขีดนั้น5. ดินสอช่างไม้ ใช้ขีดเส้นตามตำแหน่งที่ต้องการ
6.บรรทัดยาวหรือบรรทัดปาดปูน ใช้สำหรับฉาบปูนพื้นที่กว้างๆ
7.ค้อนหง้อนใช้ตอกตะปูตีแบบ
8.เลื่อยลันดาใช้สำหรับเลื่อยไม้
9.เลื่อยอกใช้ตัดไม้เพื่อให้ได้ขนาดตามต้องการ
10.จอบ และพลั่วใช้ขุดดินและคลุกเคล้าส่วนผสม
11.เกรียงเหล็กชนิดสามเหลี่ยมใช้ในการก่ออิฐ
12.เกรียงไม้ ใช้สำหรับตกแต่งหรือกดปูนให้เรียบ
13.แปรงสลัดปูน ใช้สำหรับช่วยในการฉาบปูน
เเหล่งอ้างอิงhttp://thaihandiwork.com/changsipmub2_plastering.php?language=TH
http://www.school.net.th/library/create-web/10000/technology/10000-5972.html http://www.kpsw.ac.th/teacher/thawatchai/page1.htm
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น