วันพุธที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2554

ช่างประปา





ในอดีตช่างประปา จะใช้ท่อเหล็กในการวางต่อระบบท่อน้ำประปา ต้องใช้เครื่องต๊าป , ดายเกลียวท่อเหล็ก ตามจุดต่อต่าง ๆ ซึ่งยุ่งยาก แต่ในปัจจุบัน พลาสติก หรือท่อ พีวีซี ได้เข้ามาแทนที่ทำให้การต่อระบบน้ำประปาทำได้สะดวกง่ายขึ้น ประหยัดเวลา โดยใช้กาวเป็นตัวเชื่อมประสาน ระหว่างท่อ สามารถต่อท่อลดหรือเพิ่มขนาดได้ บุคคลที่จะเป็นช่างประปาจะต้องเป็นผู้มีความรู้เกี่ยวกับขนาดท่อ และข้อต่อลักษณะต่าง ๆเป็นอย่างดี จึงจะสามารถวางแผน ออกแบบ ระบบน้ำประปาได้ ลักษณะการทำงานจะเป็นงานที่ต้องขุดดิน เปลอะเปลี่อนน้ำ ดินเลน จากการวางต่อท่อระบบน้ำ ตามแต่ลักษณะงานที่ยากง่าย


ลักษณะการต่อระบบท่อน้ำประปา จะมีการต่อ 2 แบบ คือ
1. การต่อแบบฝังท่อใต้ดิน หรือใต้พื้น ผนังอาคาร เป็นแบบถาวร ยากต่อการซ่อมแซมต่อเติม
2. การต่อแบบไม่ได้ฝังท่อน้ำ ซึ่งแบบนี้ต้องวางแนวท่อให้เหมาะสม เพื่อป้องกันไม่ให้มีแรงมากระทบท่อน้ำให้แตกได้ เป็นการต่อแบบชั่วคราว สามารถต่อเพิ่มเติมหรือขยายในภายหลังได้ง่าย



งานช่างประปา 
             น้ำเป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตของมนุษย์  มีการศึกษาเกี่ยวกับการใช้น้ำปรากฏว่า  คนในชนบทใช้น้ำ  150  ลิตรต่อคนต่อวัน  คนในเมืองใช้น้ำ  440  ลิตรต่อคนต่อวัน  น้ำจึงมีความสำคัญต่อมนุษย์มาก  ระบบการประปาได้แก่  การนำน้ำเข้ามาใช้  การระบายน้ำโสโครกภายในอาคารบ้านเรือนออกไป  เป็นสิ่งจำเป็นและเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันมากที่สุด  ระบบประปาที่ดีมีประสิทธิภาพ  จึงหมายถึงความสะดวกสบาย  สุขภาพและพลานามัยของผู้อยู่อาศัย  ดังนั้นความรู้เรื่องระบบน้ำประปา  ระบบการระบายน้ำโสโครก  สุขภัณฑ์  เครื่องมือเครื่องใช้  วัสดุอุปกรณ์  ตลอดจนวิธีการจัดระบบการประปา  การซ่อมบำรุงรักษา  จึงเป็นสิ่งจำเป็น  สามารถศึกษาและปฏิบัติได้ทั้งชายและหญิง



เเหล่งอ้างอิง



http://www.school.net.th/library/create-web/10000/technology/10000-6086.html
http://www.tkschool.ac.th/~chusak/page2.html

วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

ช่างสี


    งานสีเป็นงานช่วยรักษา ป้องกันสภาพผิวของเนื้อวัสดุให้คงทน มีอายุการใช้งานได้ยาวนาน ทำให้ผิวงานมีความสวยงามยิ่งขึ้น งานสีจะเป็นงานขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการผลิต ลักษณะของผู้ที่จะเป็นช่างทาสี จะต้องเป็นคนที่ต้องใช้เวลาในการฝึกปฏิบัติงานจนเกิดทักษะ ความชำนาญเกี่ยวกับ เทคนิคขั้นตอนการทาสีหรือพ่นสี มีความเข้าใจเกี่ยวกับสีหรือวัสดุอื่นในการเคลือบผิว ตลอดจนโทนสีต่าง ๆ ที่ให้ความรู้สึกที่แตกต่างกัน เช่น สีแดงให้ความรู้สึกร้อน สีฟ้าอ่อนให้ความรู้สึกกว้างสบายตา เป็นต้น ลักษณะการทำงานจะเป็นงานที่ต้องใช้ความละเอียดประณีตสูง การทาสีหากเป็นงานทาสีอาคาร ตึก ต้องใช้นั่งร้าน ทาสีในที่สูง ๆ ช่างสีจึงต้องเป็นคนที่กล้าทำงานในที่สูง
                        




งานสีแบ่งออกได้ 2 ประเภท ดังนี้
1. งานทาสีปิดลายไม้ เช่นการทาสีหรือวัสดุอื่น แล้วมองไม่เห็นลายไม้
2. งานเคลือบผิวโชว์ลายไม้ เช่น การทาแลกเกอร์ เชลแล็ก ยูริเทน เมื่อทาแล้วสามารถมองเห็นลายไม้


สีน้ำอะครีลิก
เหมาะสำหรับใช้ทาภายในอาคาร ในส่วนที่เเป็นพื้นผิวฉาบปูน อิฐ คอนกรีต ไฟเบอร์ซีเมนต์ เป็นต้น โดยสีน้ำอครีลิกจากแต่ละบริษัทจะมีคุณภาพของเนื้อสีแตกต่างกันไป ซึ่งสามารถจำแนกได้ดังนี้
- สีน้ำอะครีลิคแท้ 100 %
ใช้ทาภายในเท่านั้น นอกเสียจากจะมีการผสมสารบางตัวในการยึดเกาะและทนทานต่อสภาวะอากาศต่าง ๆ ได้ เช่น สีน้ำอะครีลิกแท้ TM 100% เนื้อสีจะให้ฟิล์มสีกึ่งเงา เนื้อสีเรียบเนียนไม่สะท้อนแสง ลดการยึดเกาะของฝุ่น สีน้ำอะคริลิกเรซิน 100 % ให้สีทำความสะอาดตัวเองได้ด้วยการชะล้าง และลดการก่อตัวของคราบสกปรกบนผนังจากน้ำฝน การยึดเกาะของสีดี ไม่ลอกร่อน สีน้ำอะครีลิกผลิตจากสารอีลาสโตเมอริค อคริลิก 100 % ให้ฟิล์มสีที่ยืดหยุ่น เหมาะสำหรับการปกปิดพื้นผิว แตกลายงา ป้องกันการกัดกร่อนของผิวคอนกรีต และโครงสร้างของเหล็กภายในได้
- สีน้ำอะครีลิกที่มีฟิล์มสีมีประกาย (Shimmering Emulsion)
โดยจะให้ลักษณะสีเป็นประกายเห็นได้ชัดแตกต่างจากสีทั่วไป เหมาะสำหรับไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ที่ต้องการความแตกต่างของสีสัน
- สีน้ำอครีลิกผสมสารเทฟล่อน
ซึ่งจะมีประสิทธิภาพในการเคลือบและป้องกันพื้นผิวให้ปราศจากฝุ่นผง หรือสิ่งสกปรก ปลอดภายจากความชื้น
โดยทั้งนี้ สีน้ำอะครีลิกทุกตัวในปัจจุบันมีการมุ่งเน้นในเรื่องของการเช็ดทำความสะอาด ได้ง่าย ป้องกันการเกิดตะใคร่น้ำและเชื้อรา ทนทานต่อความเป็นด่างของพื้นผิวได้ดี ที่สำคัญ ปราศจากสารปรอท สารตะกั่ว ให้ความปลอดภายแก้ผู้อยู่อาศัย
สีน้ำมัน
เป็นสีที่ใช้สำหรับทาภายในและภายนอกในส่วนที่เป็นงานไม้ งานโลหะ และงานทั่วไปที่ต้องการความคงทนเป็นพิเศษ เช่นประตูหน้าต่าง เฟอร์นิเจอร์ ฯลฯ โดยทั่วไปผลิตจากสารเรซิน ที่แต่ละแบรนด์จะมีสูตรผสมที่แตกต่างกันไป เนื้อสีจะให้ความงามมากกว่าเนือสีแบบอะครีลิกและไม่มีการผสมสารปรอท สารตะกั่ว ในเนื้อสี ให้ความปลอดภายในการนำไปใช้
สำหรับในปัจจุบัน มีหลากหลายทางเลือกในการใข้สีให้เมาะกับารูปแบบการตกแต่งต่าง ๆ จึงมีบริษัทสีหลายแห่งที่มีศูนย์ในการผสมสีตามความต้องการของลูกค้า ซึ่งสามารถให้ผสมสีตามสั่งได้ตั้งแต่ขนาดควอทซ์ และขนาดเป็นแกลลอน ตามขนาดพื้นที่ที่ต้องการนำไปใช้ ดังนั้นจึงควรศึกษาถึงขนาดพื้นที่ให้เรียบร้อยก่อนสั่งการผสมสีในทุกครั้ง

อุปกรณ์ประกอบด้วย
1. สี เราไปเลือกที่ homepro ค่ะเค้าจะมีแคทตาลอคให้ดูเยอะมาก ๆ สีเราควรเลือกแบบเกรดดีหน่อยค่ะ เพราะสามารถทำความสะอาดได้ง่าย ซึ่งก็มีหลายยี่ห้อค่ะ ถ้าไม่อยากซื้อที่ homepro อาจจะดูเบอร์สีแล้วจำมาสั่งจากร้านข้างนอกที่ขายพวกวัสดุก่อสร้างก็น่าจะได้ ค่ะ เราเลือก สีน้ำ supershield duracleanกระป๋องใหญ่ 2.5 ลิตรค่ะ ราคา 1381 บาท
2. ลูกกลิ้ง ซื้อที่มันแถมมาพร้อมถาดสีนะคะ จะได้ไม่ต้องหาภาชนะไว้ใส่สีสำหรับทา ราคา 130 บาทค่ะ
3. แปรงทาสีไว้เก็บรายละเอียดที่ลูกกลิ้งทาไม่ถึง แนะนำให้ใช้เบอร์ 1" กะเบอร์ 2" ค่ะ
4. เทปกาวย่น ไว้สำหรับแปะตามขอบเป็นเทปกาวที่สีขุ่น ๆ หาได้ตามร้านขายของหรือห้างทั่วไปค่ะ (จะพยายามหารูปมาให้ดูนะคะ)
5. กระดาษหนังสือพิมพ์ ไว้สำหรับปูพื้นกันสีหยดมาใส่ค่ะ ตอนทา
6. เก้าอี้หรือบันไดเอาไว้ทาตามที่สูง ๆ ที่เอื้อมไม่ถึงค่ะ
7. ผ้าขี้ริ้วกับถังน้ำไว้เช็ดเวลาสีเลอะ ให้รีบเช็ดออกก่อนสีแห้งนะคะ จะเช็ดออกง่าย


เเหล่งอ้างอิง
http://www.school.net.th/library/create-web/10000/technology/10000-6087.html
http://www.winaiservice.ob.tc/%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B5.html

ช่างปูน

    
       ช่างปูน เป็นช่างประเภทหนึ่งในจำพวกช่างสิบหมู่ งานของช่างปูน เป็นงานสร้างทำอาคารสถานชนิดเครื่อง ก่อประเภท เจติยสถานและศาสนสถานต่างๆ เช่น พระสถูปเจดีย์ พระพุทธปรางค์เจดีย์ พระอุโบสถ พระวิหาร ฐานชุกชี ซุ้มคูหา กับได้ทำพระมหาปราสาท พระราชมณเฑียร แท่นฐาน เกยราชยาน ประตู เครื่องยอดต่างๆ ใบเสมา กำแพงและป้อมปราการ เป็นต้น และงานของช่างปูนยังเนื่องด้วยการปั้นปูนอีกด้วย

ช่างปูน
           

       งาน ปูน จัดเป็นงานช่างเก่าแก่ จำพวกหนึ่งที่ในสยามประเทศนี้ ทั้งนี้พึงเห็นได้จากซากโบราณสถานประเภท เจติยสถาน ชนิดเครื่องก่ออิฐถือปูนทำลวดบังประกอบส่วนต่างๆ อย่างประณีตแสดงฝีมือและความสามารถช่างปูน ชั้นสูง แต่ทว่าหลักฐานความเป็นมาของช่างปูนรุ่นเก่าๆ นั้นไม่สู้มีหลักฐานสิ่งอื่นๆ แสดงให้ทราบได้ว่าเป็นช่างพวก ใดเป็นผู้สร้างทำ นอกเสียจากรูปแบบที่แสดงฝีไม้ลายมือฝากไว้เท่านั้น
           งานปูน หรืองานช่างปูนแต่สมัยก่อน มีชื่อเรียกเป็นคำเก่าอีกอย่างหนึ่งว่า "สทายปูน" งานของช่างปูน อาจจำแนกลักษณะงานของช่างปูนออกได้เป็น ๒ ลักษณะ ด้วยกันคือ
 
ช่างปูนงานก่อ
           ช่าง ปูนจำพวกนี้ ทำงานในลักษณะการก่อวัสดุชนิดต่างๆ เช่น อิฐ หิน ศิลาแลง เป็นต้น ขึ้นเป็นรูปทรงสิ่ง ต่างๆ ตั้งแต่ขนาดเล็ก เช่น ก่อเขามอขึ้นอ่าง ไปจนกระทั่งก่อพระสถูปเจดีย์ ก่อพระพุทธปรางค์เจดีย์ หรือได้ทำการ ในด้านบูรณะปฏิสังขรณ์ เครื่องหิน เครื่องอิฐก่อที่ชำรุดให้คืนดีขึ้นดั่งเดิม
 
ช่างปูนงานลวดบัว
           ช่าง ปูนจำพวกนี้ ทำงานในลักษณะการถือปูนทำผิวเป็นลวดบัวแบบต่างๆ เช่น บัวคว่ำ บัวหงาย บัวหลังเจียด บัวปากปลิง บัวลูกแก้ว บัวอกไก่ สำหรับประกอบทำฐานลักษณะต่างๆ เป็นต้นว่า ฐานเชิง บาตร ฐานเท้าสิงห์ ฐานปัทม์ ฐานเฉียง ฐานบัวจงกล ฯลฯ หรือทำการถือปูนจับเหลี่ยมเสาแบบต่างๆ คือ เสาแปดเหลี่ยม เสาย่อมุมไม้สิบสอง เสากลม เป็นต้น
           งานปูนที่เป็นงานในหน้าที่ของช่างปูนดังกล่าวมีวัตถุปัจจัยสำคัญ สำหรับงาน คือ ปูน ซึ่งช่างปูนได้ใช้ในงาน ก่อ ฉาบ และถือปูนเป็นสิ่งต่างๆ มาแต่โบราณ การผสมปูนนี้ ช่างปูน บางคนได้ผสมเนื้อปูนให้มีคุณภาพเหนียวและ คงทนถาวรอยู่ได้นานปี บางคนใช้กระดาษฟางบ้าง หัวบุบุก หัวกลอยบ้าง แม้หัวต้นกระดาษก็ใช้ตำผสมเข้ากับเนื้อ ปูน เพื่อช่วยเสริมความเหนียวและยึดตัวดี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเชื่อและประสบการณ์ของช่างปูนแต่ละคน
           งานช่างปูนนี้ เมื่อจะทำการคราวหนึ่งๆ จึงทำปูนขึ้นเฉพาะงานคราวนั้น จะทำเตรียมไว้ล่วงหน้านานเป็นแรม เดือนไม่ได้ การทำปูนเตรียมไว้สำหรับงานก่อ ฉาบ จับ ถือปูนเป็นงานค่อนข้างหนักแรง เพราะต้องใช้แรงตำปูนกับ สิ่งที่ผสมร่วมกันนานกว่าจะเข้าเป้นเนื้อเดียวและเหนียวได้ที่ ในการงานช่วงนี้ มักเป็นภาระหน้าที่ของลูกมือ ช่างปูนตำปูนให้แก่ช่างปูน แต่ในบางกรณีที่ช่างปูนได้ทำงานก่อ งานปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม ที่เป็นงานของหลวง อุปถัมภ์การพระศาสนา มักมีชาวบ้านสมัครมาช่วยตำปูน เป็นการร่วมทำบุญสร้างกุศลด้วยการโขลกตำปูนถวายวัด บุญกิริยาเช่นนี้ จึงเกิดเป็นธรรมเนียมขึ้นในสมัยก่อน เมื่อมีการสร้างหรือซ่อมปูชนียสถาน หรือศาสนสถานอย่างหนึ่ง อย่างใดที่เป็นชนิดเครื่องก่อขึ้นในวัด ชาวบ้านวัยหนุ่มวัยสาวจะสมัครมาช่วยกันตำปูนเตรียมไว้สำหรับช่างปูน จะได้ใช้งานตำปูนนี้จะทำกันในตอนหัวค่ำภายหลังเสร็จธุระประจำวันแล้ว ตั้งครกตำปูนเรียงรายกันหลายๆ ลูกครก ตำปูนนี้โดยมากใช้ครกกระเดื่องซึ่งจะช่วยผ่อนแรงตำได้มาก เมื่อตำปูนเหนียวได้ที่ครกหนึ่งๆ ก็ตักเอาไปพักไว้ใน อ่างดิน เอาผ้าหรือฟางชุบน้ำคลุมปิดไว้ให้ปูนชื้นพอแก่เวลาที่ช่างปูนจะมาเอาไปใช้ใน วันรุ่งขึ้น อนึ่ง ปูนที่จัดการ โขลกตำเตรียมไว้นี้ยังไม่ต้องใส่เชื้อน้ำตาล จะใส่เชื้อน้ำตาลก็ต่อเมื่อช่างปูนจะใช้ปูน จึงใส่เชื้อดังกล่าวเอาเองตาม ส่วนหรือขนาดที่เข้าใจ ธรรมเนียมชาวบ้านช่วยตำปูนถวายวัดนี้ นอกเสียจากเป็นบุญกิริยาแล้วยังอาจกล่าวได้ว่า เป็นโอกาสสำหรับคนหนุ่มสาวได้มาสมาคมกันได้โดยผู้ใหญ่ไม่สู้เดียดฉันท์
           ช่างปูนที่เป็นช่างปูนงานก่อก็ดีช่างปูนงานลวดบัวก็ดี ช่างประเภทนี้ ใช้เครื่องมือที่จำเป็นอยู่ ๒-๓ อย่าง คือ
           เกรียงเหล็ก ขนาดต่างๆ
           เกรียงไม้
           ประทับหรือบรรทัด ถือลวดบัว หรือจับเหลี่ยม
           ครก และสากไม้
           ตะแกรง สำหรับร่อนปูน และทราย
           อ่างดิน สำหรับพักหรือหมักปูน
           ช่างปูน เป็นช่างฝีมือที่ได้ใช้ความสามารถของฝีมือสร้างทำปูนให้เป็นรูปลักษณ์ที่ ประกอบไปด้วยศิลป ลักษณะ มีความงามและคุณค่าเชิงประณีตศิลป์ ฉะนี้ช่างปูนจึงได้รับการยอมรับและจัดรวมเข้าในหมู่ช่างสิบหมู่ด้วย สาระสำคัญของช่างปูนตามที่ได้อธิบายมานี้ 
      
 
          ปัจจุบัน ปูนซีเมนต์มีบทบาทในการสร้างที่อยู่อาศัย ถนน และอื่น ๆ อีกมากมาย โดยเฉพาะงานโครงสร้างใหญ่ ๆ ที่ต้องการความคงทนแข็งแรงสูง เช่น ตึกสูง ๆ สะพานข้ามแม่น้ำเป็นต้น นับว่างานปูนมีความสำคัญไม่น้อย ในการอำนวยความสะดวกสบายให้กับมนุษย์ งานปูนเป็นงานที่ต้องใช้เวลาในการแข็งตัว ขณะเดียวกันช่างปูนต้องทำงานแข่งกับเวลา และต่อเนื่องจนงานแล้วเสร็จ หากมีการผสมปูนหรือคอนกรีตไว้แล้ว ลักษณะที่ดีของช่างปูน จะต้องเป็นผู้มีทักษะ ความชำนาญเป็นพิเศษเกี่ยวกับการก่ออิฐ ฉาบปูน รู้จักเลือกชนิดของปูนซีเมนต์มาใช้งานใด้อย่างเหมาะสม มีความรู้เกี่ยวกับอัตราส่วนของการผสมปูน การอ่านแบบ ออกแบบ คิดคำนวณได้อย่างถูกต้อง ตลอดจนเป็นผู้มีความขยัน อดทนมากเป็นพิเศษ เพราะลักษณะการทำงานของงานช่างปูน เป็นงานที่หนักมาก ทำงานทั้งในสถานที่ต่ำ และสถานที่สูง ๆ มีความรับผิดชอบต่องาน ละเอียด รอบคอบ ประณีต และประหยัดช่างปูน จำแนกออกได้ตามลักษณะการทำงาน ดังนี้1. ช่างปูนโครงสร้าง2. ช่างก่ออิฐถือปูน3. ช่างปูนสุขภัณฑ์      4. ช่างปูนปั้น

        ความสำคัญของเครื่องมือช่างปูน
การปฏิบัติงานจะประสบความสำเร็จได้นั้นผู้ปฏิบัติงานต้องมีความรู้ความเข้าใจ และทักษะหลายๆด้านผู้ปฏิบัติต้องมีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ต้องมีความตั้งใจในการ ปฏิบัติงาน  สิ่งหนึ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานช่าง  คือการเรียนรู้เรื่อง เครื่องมือนั่นเอง ถึงแม้ว่าตัวช่างจะมีฝีมือดีเพียงใดก็ตามแต่เครื่องมือไม่พร้อม และไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องมือ งานที่ได้ก็คงจะไม่ดีเท่าที่ควร ดังนั้นในงานช่างปูนผู้ที่จะปฏิบัติงานได้ดีนั้นต้องมีความรู้ความเข้าใจรู้จักวิธีการ ใช้และการบำรุงรักษาเครื่องมือที่ใช้ในงานช่างปูนเป็นอย่างดีเพื่อเป็นการเตรียมความ พร้อมให้กับผู้ปฏิบัติงานให้ปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วในโกาสต่อไปประวัติช่างปูนไทย
งานช่างปูนของไทยแบ่งแยกงานตามส่วนออกเป็น 3 พวกคือ
ประวัติช่างปูนไทย
1.ช่างก่ออิฐ
2.ช่างปูน
3.ช่างปั้นอิฐ
1.ช่างก่ออิฐเป็นช่างฝีมืออย่างหยาบ ๆ โบราณเรียกช่างพวกนี้ว่า ช่างประดิษฐ์ การทำงานของช่างพวกนี้เป็นเเต่เพียงเรียงอิฐ ปูนสอ ก่อเป็นหุ่นเป็นโครงสร้างอย่างหยาบ ๆ ตัวอย่างเช่น ก่อกำแพง หุ่นฐานพระ ก่อเจดีย์ ฯ หรือถ้าฝึกฝีมือได้สูงขึ้นก็อาจก่อซ่อมหุ่นพระพุทธรูปศิลาที่ชำรุดให้คืนคงดี
2. ช่างปูน เป็นช่างฝีมือปานกลาง โบราณเรียกสหายปูนคือช่างโบกฉาบปูนทำพื้นผนังทำลายบัวต่าง ๆ
3.ช่างปั้นปูน เป็นช่างฝีมือสูงกว่าช่าง 2 พวกแรกช่างปั้นปูนนั้นสามารถสร้างทำงานได้อย่างปราณีต และสามารถในการสร้างสรรค์ เป็นงานศิลปกรรมได้อีกด้วยงานของช่างปั้นปูนแต่ก่อนแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
3.1 ช่างปั้นปูนเป็นรูปภาพปฏิมากรรมต่าง ๆ มีทั้งพุทธปฏิมา เทาปฏิมา รูปภาพอมนุษย์ รูปภาพสัตว์ฯ
ทำขึ้นเพื่อเป็นรูปเคารพ หรือใช้ประดับตกแต่ง เช่น ปั้นยักษ์ตั้งคู่เคียงประตู ทางเข้าวัด
3.2 ช่างปั้นปูน ทำเป็นรูปลวดลายต่าง ๆ ใช้ประดับตกแต่งพื้นทีว่าง ทำเป็นกรอบ ทำเป็นซุ้มประตูหน้าต่าง ประดับเป็นหัวเสา ปั้นประดับฐานพระปรางค์ สถูป ฐานพระพุทธปฏิมา
เครื่องมือและอุปกรณ์การช่าง 1.ไม้แบบ ใช้ในการหล่อแผ่นคอนกรีต โดยทั่วๆ ไปแล้วสามารถหาวัสดุหลายชนิดนำมาทำเป็นไม้แบบได้ เช่น เหล็กแผ่น อลูมิเนียมแผ่น สังกะสีแผ่นเรียบ สังกะสีลูกฟูก กระดาษแข็ง พีวีซีแผ่นไม้อัด ไม้ วัสดุที่กล่าวมานี้ อาจใช้วัสดุจากส่วนที่เหลือจากงานอื่น ๆได้ การทำไม้แบบไม่จำเป็นจะต้องทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมเสมอไป อาจนำมาตัด, ดังแปลง ตามแนวความคิดของแต่ละบุคคล อาจจะเป็นรูปวงกลม รูปสี่เหลี่ยม รูปห้าเหลี่ยม รูปหกเหลี่ยม รูปแปดเหลี่ยม และรูปอื่น ๆ ก็ได้ สำหรับไม้แบบที่จะกล่าวในบทความนี้ผู้เขียนขอแนะนำให้ใช้ไม้ฉำฉา ซึ่งได้มาจากไม้ที่เป็นลังเป็นกล่องไม้ที่ใช้บรรจุสินค้ามาจำหน่ายแล้วทิ้ง กล่องไม้นี้ตามข้างถนนหรือที่บางแห่ง ซึ่งไม้ต้องการใช้อีกแล้วนำมาใช้ประโยชน์ทำไม้แบบในงานนี้ได้ ขนาดของไม้ฉำฉาที่ต้องการควรมีความหนา 1/2" กว้าง 2" ยาว 40 เซนติเมตร จำนวน 2 ท่อน และยาว 60 เซนติเมตร จำนวน 2 ท่อน นำมาไสให้เรียบทั้ง 4 ด้านและให้ได้ฉาก พยายามให้มีขนาดหนาที่สุดเท่าที่จะทำได้ ความกว้างต้องเท่ากันทุกท่อนคือประมาณ 5 เซนติเมตร ตวามยาว 40 เซนติเมตรจำนวน 2 ท่อน และความยาว 60 เซนติเมตร จำนวน 2 ท่อน ไม้ทั้ง 4 ท่อน นี้ควรไสให้ตรง ได้ฉากเพื่อจะประกอบกันง่ายขึ้น ไม้ดังกล่าวนี้ต้องไม่แตกร้าว บิดงอ มีตำหนิมากและรอยตำหนิใหญ่ ถ้าไม่มีตำหนิเลยยิ่งดี เป็นไม้ที่แห้งไม่เปื้อนเปรอะสี, น้ำมัน, ดิน, โคลน, กาว ควรเป็นไม้ที่มีผิวเกลี้ยงสะอาด เพื่อจะได้เป็นไม้แบบที่สมบูรณ์ที่สุด
2.. กบล้างกลาง ใช้ในการไสไม้ให้ได้ขนาดตามที่ต้องการ3. ฉากตายขนาด 12" ใช้ในการจับ ฉากของไม้ วัดฉากและขีดเส้นก่อนทำการตัดไม้ 4. ขอขีด ใช้ในการขีดไม้ให้ได้ขนาดตามที่ต้องการแล้วใช้กบไสให้ได้ตามแนวขอขีดนั้น5. ดินสอช่างไม้ ใช้ขีดเส้นตามตำแหน่งที่ต้องการ
 6.บรรทัดยาวหรือบรรทัดปาดปูน ใช้สำหรับฉาบปูนพื้นที่กว้างๆ
7.ค้อนหง้อนใช้ตอกตะปูตีแบบ
8.เลื่อยลันดาใช้สำหรับเลื่อยไม้

 
9.เลื่อยอกใช้ตัดไม้เพื่อให้ได้ขนาดตามต้องการ

 
10.จอบ และพลั่วใช้ขุดดินและคลุกเคล้าส่วนผสม

 
11.เกรียงเหล็กชนิดสามเหลี่ยมใช้ในการก่ออิฐ

 
12.เกรียงไม้ ใช้สำหรับตกแต่งหรือกดปูนให้เรียบ

 13.แปรงสลัดปูน ใช้สำหรับช่วยในการฉาบปูน


 
เเหล่งอ้างอิง
http://thaihandiwork.com/changsipmub2_plastering.php?language=TH 
http://www.school.net.th/library/create-web/10000/technology/10000-5972.html 
http://www.kpsw.ac.th/teacher/thawatchai/page1.htm 

ช่างไฟฟ้า


ลักษณะงานโดยทั่วไป
         สายงานนี้คลุมถึงตำแหน่งต่าง ๆ ที่ปฏิบัติงานทางด้านช่างไฟฟ้า ซึ่งมีลักษณะงานที่ปฏิบัติเกี่ยวกับการสร้าง ตรวจแก้ ซ่อม ปรับ ประกอบ ดัดแปลง ทดสอบ ติดตั้ง และบำรุงรักษา เครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องใช้ที่เกี่ยวกับไฟฟ้าคำนวณรายการและ ควบคุมตรวจสอบความเรียบร้อยในงานไฟฟ้า และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

ชื่อและระดับของตำแหน่ง

         ตำแหน่งในสายงานนี้มีชื่อและระดับของตำแหน่งดังนี้ คือ
ช่างไฟฟ้า 1 ระดับ 1
ช่างไฟฟ้า 2 ระดับ 2
ช่างไฟฟ้า 3 ระดับ 3
ช่างไฟฟ้า 4 ระดับ 4
ช่างไฟฟ้า 5 ระดับ 5
ช่างไฟฟ้า 6 ระดับ 6
ช่างไฟฟ้า 7 ระดับ 7
ช่างไฟฟ้า 8 ระดับ 8


ชื่อตำแหน่ง                                            ช่างไฟฟ้า 1

หน้าที่และความรับผิดชอบ
         ปฏิบัติงานช่างไฟฟ้าที่ไม่ยากภายใต้การกำกับ ตรวจสอบโดยใกล้ชิด หรือตามคำสั่ง หรือแบบ หรือแนวทางปฏิบัติ หรือคู่มือที่มีอยู่อย่างชัดเจนหรือละเอียดถี่ถ้วน และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
         ปฏิบัติงานที่ไม่ยาก  โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างเกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้าต่างๆ เช่น ช่วยในการติดตั้ง ประกอบ ดัดแปลง ปรับ บำรุงรักษา ซ่อมเครื่องจักรเครื่องมือเครื่องใช้ที่เกี่ยวกับไฟฟ้า เบิกจ่าย จัดเก็บรักษาเครื่องมือเครื่องใช้และวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับงานในหน่วยงาน เป็นต้น และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
          ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้

ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
         1. มีความรู้ความสามารถในงานช่างไฟฟ้าอย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
         2. มีความรู้ความเข้าใจในกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และกฎหมาย กฎ ระเบียบและข้อบังคับอื่นที่ใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่
         3. มีความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาและคอมพิวเตอร์อย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
         4. มีความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความละเอียดรอบคอบและถูกต้อง

ชื่อตำแหน่ง                                                      ช่างไฟฟ้า 2

หน้าที่และความรับผิดชอบ
         ปฏิบัติงานช่างไฟฟ้าที่ค่อนข้างยากภายใต้การกำกับตรวจสอบโดยทั่วไป หรือตามคำสั่ง หรือแบบ
หรือแนวทางปฏิบัติ หรือคู่มือที่มีอยู่บ้าง และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
         ปฏิบัติงานที่ค่อนข้างยาก โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างเกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้าต่างๆ
เช่น ช่วยในการติดตั้ง ประกอบ ดัดแปลง ปรับ ซ่อม บำรุงรักษา เครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องใช้ที่เกี่ยวกับไฟฟ้า เบิกจ่าย จัดเก็บรักษาเครื่องมือ เครื่องใช้ และวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน รวบรวมข้อมูลและประวัติการซ่อมและข้อมูลเกี่ยวกับหน่วยงาน เป็นต้น และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
         1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งช่างไฟฟ้า 1 และได้ดำรงตำแหน่งในระดับ 1 หรือเทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้า หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
2. ได้รับอนุปริญญาหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้

ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
         นอกจากมีความรู้ความสามารถเช่นเดียวกับช่างไฟฟ้า 1 แล้ว จะต้องมีความสามารถในการให้คำแนะนำเกี่ยวกับระเบียบและวิธีการปฏิบัติงานที่อยู่ในความรับผิดชอบ

ชื่อตำแหน่ง                                                      ช่างไฟฟ้า 3
                                       
หน้าที่และความรับผิดชอบ
         ปฏิบัติงานช่างไฟฟ้าที่ยากพอสมควรภายใต้การกำกับตรวจสอบเฉพาะกรณีที่จำเป็น หรือตามคำสั่ง หรือแบบ หรือแนวทางปฏิบัติ หรือคู่มือที่มีอยู่อย่างกว้างๆ  และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
         ปฏิบัติงานที่ยากพอสมควร โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างเกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้าต่างๆ  เช่น ติดตั้ง ประกอบ ดัดแปลง ปรับ ซ่อม บำรุงรักษา เครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องใช้ที่เกี่ยวกับไฟฟ้า เบิกจ่าย จัดเก็บรักษาเครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน รวมรวมข้อมูลและประวัติการซ่อม และข้อมูลที่เกี่ยวกับหน่วยงาน เป็นต้น ให้คำปรึกษาแนะนำในการปฏิบัติงานแก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
         มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งช่างไฟฟ้า 1 หรือช่างไฟฟ้า 2 และได้ดำรงตำแหน่งในระดับ 2
หรือเทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้า หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี  

ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
          นอกจากมีความรู้ความสามารถเช่นเดียวกับช่างไฟฟ้า 2 แล้ว จะต้อง
          1. มีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบันในด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งของประเทศไทย
          2. มีความสามารถในการศึกษาและจัดการข้อมูล วิเคราะห์ปัญหาและสรุปเหตุผล

ชื่อตำแหน่ง                                                      ช่างไฟฟ้า 4

หน้าที่และความรับผิดชอบ
         ปฏิบัติงานช่างไฟฟ้าที่ยากภายใต้การกำกับตรวจสอบเฉพาะกรณีที่จำเป็น หรือตามคำสั่ง หรือแบบ 

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
         ปฏิบัติงานที่ยาก โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างเกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้าต่างๆ  เช่น ติดตั้ง ประกอบ ดัดแปลง ปรับซ่อม บำรุงรักษาเครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องใช้ที่เกี่ยวกับไฟฟ้า เบิกจ่าย จัดเก็บรักษา เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน รวบรวมข้อมูลและประวัติการซ่อม และข้อมูลที่เกี่ยวกับหน่วยงานเป็นต้น ให้คำปรึกษาแนะนำในการปฏิบัติงานแก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา ตอบปัญหาและชี้แจงเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับงานในหน้าที่ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
         1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งช่างไฟฟ้า 1 หรือช่างไฟฟ้า 2  และได้ดำรงตำแหน่งในระดับ 3 หรือเทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้า หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
         2. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งช่างไฟฟ้า 1 หรือช่างไฟฟ้า 2  และได้ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ 2 หรือเทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้า หรืองานอื่น
ที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี

ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
         นอกจากมีความรู้ความสามารถเช่นเดียวกับช่างไฟฟ้า 3 แล้วจะต้อง
          1. มีความรู้ความเข้าใจในนโยบายและแผนงานด้านต่าง ๆ ของหน่วยงานที่สังกัด
          2. มีความสามารถในการจัดทำแผนงาน ควบคุม ตรวจสอบ ให้คำปรึกษา แนะนำ และเสนอแนะวิธีการแก้ไขปรับปรุงการปฏิบัติงานที่อยู่ในความรับผิดชอบ
          3. มีความสามารถในการติดต่อประสานงาน 


ชื่อตำแหน่ง                                                      ช่างไฟฟ้า 5

หน้าที่และความรับผิดชอบ
         ปฏิบัติงานช่างไฟฟ้าที่ค่อนข้างยากมากภายใต้การกำกับตรวจสอบน้อยมาก หรือตามคำสั่ง หรือแบบ หรือแนวทางปฏิบัติ  หรือคู่มือในบางกรณี ซึ่งต้องมีการใช้ความคิดริเริ่มบ้าง และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
         ปฏิบัติงานที่ค่อนข้างยากมาก โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างเกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้าต่างๆ เช่น ตรวจ ทดสอบ สร้าง ซ่อม ประกอบ ดัดแปลง ติดตั้ง และบำรุงรักษา เครื่องจักร เครื่องมือเครื่องใช้ ที่เกี่ยวกับไฟฟ้าที่ต้องใช้ความละเอียดแม่นยำ เทคนิคและความชำนาญสูงมาก คำนวณรายการ และประมาณราคาในการดำเนินงาน ควบคุมตรวจสอบการใช้ การเก็บรักษาเครื่องมือเครื่องใช้และอุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินงาน เป็นต้น เผยแพร่งานทางด้านช่างไฟฟ้า ฝึกอบรม และให้คำปรึกษาแนะนำในการปฏิบัติงานแก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา ตอบปัญหาและชี้แจงเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับงานในหน้าที่ และปฏิบัติหน้าที่อื่น
ที่เกี่ยวข้อง

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
         1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งช่างไฟฟ้า 1 หรือช่างไฟฟ้า 2 และได้ดำรงตำแหน่งในระดับ 4
หรือเทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้า หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
          2. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งช่างไฟฟ้า 1 หรือช่างไฟฟ้า 2 และได้ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่า  ระดับ 3 หรือเทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้า หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี

ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
          นอกจากมีความรู้ความสามารถเช่นเดียวกับช่างไฟฟ้า 4 แล้ว จะต้อง
          1. มีความรู้ความเข้าใจในหลักการบริหารงานบุคคล
          2. มีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ 


                         


เเหล่งข้อมูลอ้างอิง
http://202.28.92.125/e-administration/BackEnd/Program/Manage/ViewDocFile2.php?DOC_ID=2331

วีดีโอจากเว็ป  http://www.youtube.com/watch?v=60ZTOxw_n40

วันพุธที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553

งานไม้

งานไม้


 ความปลอดภัย
            ความ ปลอดภัยนับว่าเป็นความสำคัญอย่างหนึ่งในการทำงาน เมื่อใดที่เข้าทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมหรือบริษัท จะต้องปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยก่อนเป็นอันดับแรก ความปลอดภัยถูกตั้งขึ้นโดยสภานิติบัญญัติ ผ่านหน่วยงานการป้องกันความปลอดภัยและสุขภาพตามพระราชบัญญัติ มีการวางระเบียบการป้องกันของลูกจ้างในรูปแบบของการททำงานการนำกฎเกณฑ์ต่างๆ มาปฏิบัติ ปัจจุบันได้นำมาประยุกต์ในโรงเรียนด้วย นอกจากนี้ยังได้กำหนดกฎเกณฑ์ในเรื่องของงการรักษามลภาวะทางเสียงและอากาศ เพิ่มเข้าไปในมาตรฐานความปลอดภัยด้วย
            ในการทำงานไม้จะต้องเตรียมความพร้อมเสมอในเรื่องความปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือเครื่องจักรกลต่างๆ และพื้นที่ทำงาน เพราะบางครั้งการทำบางสิ่งโดยไม่ไตร่ตรองอาจเกิดอุบัติเหตุได้โดยไม่รู้ตัว การทำงานที่ประมาทจะเป็นอันตรายอย่างยิ่ง หรือให้เกิดความผิดพลาดต่องานได้ ก่อนที่จะเริ่มทำงานจึงควรปฏิบัติดังนี้
-         เรียนรู้เรื่องกฎความปลอดภัย
-         ทำงานตามขั้นและเวลา
-         รู้ว่าส่วนไหนและวิธีการป้องกันเมื่อเกิดอุบัติเหตุ
  
ความปลอดภัยในการทำงาน
1.      ทำงานตามขั้นตอนที่ถูกต้อง
2.      ปรึกษาผู้ให้คำแนะนำในการททำงาที่ถูกต้องและปลอดภัย
3.      อย่าลืมคำว่า ความถูกต้อง ต้องมาเป็นอันดับแรก
4.      คำขวัญที่ดีกล่าวได้ว่า สิ่งที่ดีที่สุดคือ ความปลอดภัย
5.      หลีกเลี่ยงการเล่นอย่างคึกคะนอง และให้ความสนใจป้ายเตือนต่างๆ ในโรงเรียน
  
การป้องกันตัวในการทำงาน
1. เสื้อผ้าที่หลวมจะโดนเครื่องจักรดึงหรือกระชากได้ เสื้อที่มีแขวนยาวควนติดกระดุมข้อมือให้แน่น หรือพับให้ถึงข้อศอก เสื้อผ้าที่ควรใช้ทำงานไม่ควรเป็นเสื้อแขนสั้นหรือเสื้อฝึกงาน
2.      ควรถอดแหวน นาฬิกา และเครื่องประดับอื่นๆ ก่อนที่จะทำงานกับเครื่องมือ และเครื่องจักร
3.   ควรสวมแว่นป้องกันแสงหรือป้องกันสายตา ประกอบด้วยเครื่องบังเพื่อป้องกันดวงตาจากเศษไม้ ตะปู ขี้เลื่อย และรอยเปื้อนต่างๆ ดังรูปที่ 2.3
4.      ควรสวมเสื้อป้องกันหูเมื่อทำงานรอบๆ เครื่องจักรในระยะเวลานานๆ
5.   ควรเก็บหรือรวบรวมผมที่ยาวให้ห่างจากเครื่องจักรที่กำลังทำงาน การผูกผมไว้ด้านหลังหรือใช้ผ้าคลุมผม จะช่วยป้องกันอุบัติเหตุได้ส่วนหนึ่ง

การใช้เครื่องมือ

           1.   เรียนรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือที่ถูกต้อง และเข้าใจกฎความปลอดภัยของเครื่องมือและเครื่องจักรที่ซื้อมา ตลอดจนเรียนรู้คำเตือนจากป้ายสัญญาณ เช่น ป้ายหยุด

2.   เครื่องตัดไม้ที่คมจะช่วยให้ทำงานได้ง่ายและดี ส่วนใบมีดที่ไม่คมจะทำให้ลื่นและอาจพลาดไปถูกส่วนต่างๆ ของร่างกายได้
3.      ไม่ควรทดสอบความคมของเครื่องมือด้วยอวัยวะของร่างกาย แต่ควรใช้ไม้หรือกระดานแทน
4.      นิ้วมือควรจะให้ห่างจากคมมีดของเครื่องมือ และใช้ไม้หรือวัสดุอื่นตัด 
5.      ต้องระวังเป็นพิเศษเมื่อใช้นิ้วหรือมือในการสตาร์ตเครื่องจักร
6.   ต้องมั่นใจว่าเครื่องจักรที่ใช้อยู่ในสภาพดี ควรตรวจสอบความเรียบร้อยว่าไม่แตกหักหรือหลวม เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น
7.   ต้องไม่ใช้เครื่องมือผิดวิธี เช่น ไม่ควรใช้สิ่วเปิดกล่องไม้หรือกระป๋อง ต้องใช้เครื่องมือให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายเฉพาะอย่าง

การเก็บรักษาเครื่องมือ

1.      ดูแลรักษาความสะอาดบนโต๊ะฝึกงานและพื้นที่รอบๆ
2.      เก็บเครื่องมือให้เรียบร้อยเมื่อใช้งานเสร็จ
3.      ตรวจสอบเครื่องมือด้วยน้ำมันหรือจาระบี เพื่อรักษาเครื่องมือที่เป็นโลหะ
4.      ควรเก็บเศษวัสดุดิบใส่ในกล่องหรือถังเก็บ
5.   ทำความสะอาดทุกครั้งเมื่อเสร็จงาน เพราะความสะอาดในโรงงานเป็นความปลอดภัยอย่างหนึ่ง
 

การรายงานอุบัติเหตุ

            การรายงานอุบัติเหตุต่างๆ ไม่ใช่สิ่งสำคัญเพียงเล็กน้อย และสิ่งที่ช่วยกันอันดับแรก คือ เมื่อมีแผลที่เกิดจากการตัดหรือขีดข่วน ซึ่งจะทำให้เชื้อ โรคเข้าไปในบาดแผลได้ หรือบางสิ่งบางอย่างเข้าตาแม้เพียงเล็กน้อย ต้องไปให้แพทย์ตรวจทันที
 การวัดและการออกแบบ

            เมื่อเริ่มแรกมนุษย์ทำการวัดโดยใช้ส่วนต่างๆ ของร่างงกายหรือวัตถุธรรมชาติอื่นๆ โดยมีหน่วยการวัด เช่น 1 ศอก คือระยะทางจากข้อศอกถึงปลายนิ้ว แต่งเนื่องจากระยะหนึ่ง 1 ศอกของแต่ละคนไม่เท่ากัน จึงไม่เกิดความแน่นอนในการวัด หรือ 1 ฟุต ใช้เท้าของพระมหากษัตริย์วัด ซึ่งก็อาจจะได้ความยาวที่ผิดไป ต่อมาหน่วยการวัดเริ่มมีมาตรฐานขึ้นโดยชาวอียิปต์ได้กำหนดความยาว 1 ศอก ของพระมหากษัตริย์โดยวัดจากหินแกรนิตที่เรียงกัน ส่วน 1 ศอก อื่นๆ ใช้กิ่งไม้วัด แล้วนำมาเปรียบเทียบกัน จนได้ความยาวเหมือนจริงมากที่สุด และกลายเป็นระบบการวัดของโลก ในมาตรฐานอังกฤษอังกฤษมีหน่วยการวัดเป็นฟุต (Foot) และปอนด์ (Pound)
            ในปี 2243 นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสชื่อนโปเลียน ได้คิดคิดค้นระบบการวัดใหม่ เรียกว่า ระบบเมตริกจากพื้นฐานของความเชื่อที่ได้จากขนาดของโลก และได้มีการพัฒนาปรับปรุงได้ดีขึ้น ในปัจจุบันเรียกระบบเมตริกว่า ระบบ SI ทุกวันนี้ประเทศส่วนใหญ่นิยมใช้ระบบเมตริก ดังนั้นในการศึกษาระบบการวัดจึงควรได้มีการศึกษาทั้ง 2 ระบบ เพื่อการเปรียบเทียบเช่น
-         เมตร (Metre) เป็นหน่วยของความยาว ที่ยาวกว่า 1 หลา (Yard) เล็กน้อย (ประมาณ 39.37 นิ้ว)
-     กิโลกรัม (Kilogram) เป็นหน่วยวัดน้ำหนัก (Mass) มากกว่า 2 ปอนด์เล็กน้อย (ค่าจริง 2.2 ปอนด์)
-     ลิตร (Litre) เป็นหน่วยที่ใช้วัดความจุของเหลว หรือปริมาตรมากกว่า 1 ควอท (Quart) เล็กน้อย (ประมาณ 1,06 ควอท)
-     องศาเซลเซียส (Degree celsius) เป็นหน่วยวัดอุณหภูมิ บนมาตราส่วนนี้ มีจุดเยือกแข็งอยู่ที่ 0 C และจุดเดือดอยู่ที่ 100 C ส่วนองศาฟาเรนไฮต์ (Degree fahrenheit) ทำเป็นองศาเซลเซียสได้โดยลบออก 32F และหารด้วย 1.8
ระบบเมตรริกเป็นระบบทศนิยม เป็นหน่วยพื้นฐานของผลคูณด้วย 10 การบ่งบอกหน่วยใหญ่หรือเล็ก
จะเพิ่มคำนำหน้า เช่น กิโล เซนติ และมิลลิ มีหน่วยของคำว่าเมตร ตัวอย่างเช่น กิโลเมตร คือ 1000 ครั้งของเมตร เซนติเมตร คือ 100 ครั้งเล็กกว่าเมตร (1 ใน 100 ของเมตร) และมิลลิเมตรคือ 1000 ครั้งเล็กกว่าเมตร (1 ใน 1000 ของเมตร) คำทั้งสามนี้มักใช้ร่วมกันอยู่เสมอในหน่วยการวัด คำนำว่า และชื่อของหน่วย สามารถทำให้สั้นลงโดยใช้สัญลักษณ์ 
 

Prefix

Symbol
Meaning
Giga
G
one billion times
Mega
M
one million times
Kilo
K
one thousand times
Centi
C
one-hundredth of
Milli
M
one-thousandth of
Micro
U
one-millionth of
Nano
N
one-billionth of
Note: Some prefixes are capitalized so that they won’t be confused with metric units. For example, but g =gram
  
การเปรียบเทียบระบบอังกฤษและระบบเมตริก
            ในงานไม้ระบบการวัดระยะในระบบอังกฤษจะเป็น”,12” (ฟุต) และ 36” (หลา) ส่วนระบบเมตริกใช้เป็น 150 มม. (15 ซม.), 300 มม. (30 ซม.) และ 1 การเปรียบเทียบจากรูปภาพพบว่าความยาว 12” จะยาวกว่า 300 มม. เล็กน้อย การแบ่งมาตราส่วนใน 1 นิ้วของอังกฤษจะหารด้วย 1/8” หรือ 1/16” ส่วนของเมตริกจะแบ่งเป็น 10 ส่วน เท่ากับ 1 ซม. หารออกด้วย 10 จะได้มิลลิเมตร (10 มม.= 1 ซม.) 
            เครื่องมือและอุปกรณ์ในงานไม้สำหรับการวัดในการใช้หน่วยเมตริก ดังรูปที่ 3.7 เป็นเครื่องมือที่สามารถสร้างทดแทนได้ เครื่องมือและอุปกรณ์บางชนิดไม่สามารถเปลี่ยนแปลงขนาดรูปร่างได้ เช่น เลื่อย สิ่ว หรือค้อน เป็นต้น  สำหรับเครื่องจักรกลในงานไม้ก็เช่นเดียวกันไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ และในการผลิตนิยมใช้หน่วยเมตริกเป็นหลัก
   
การออกแบบ
            การออกแบบ (Design) ในงานไม้ คือการตัดสินใจที่จะเลือกสำหรับชิ้นงาน เพื่อให้เป็นไปตามจุดประสงค์ของผู้ผลิตที่ได้ตั้งไว้ เปรียบกับเวลาคุณไปซื้อจักรยาน คุณจะต้องเลือกสี ขนาด ตามที่คุณต้องการและถูกใจ นอกจากนี้คุณอาจททดลองหมุนหรือจับล้อ และขอบล้อ แม้กระทั้งการทดสอบเบรก เมื่อพิจารณาดีแล้ว คุณจึงตัดสินใจซื้อ การออกแบบก็เช่นเดียวกัน ชิ้นงานที่ออกมาจะต้องสวยงาม มีประโยชน์ และมีประสิทธิภาพในการทำงานอย่างเต็มที่ การออกแบบงานไม้ไม่ใช่เรื่องง่ายและควรอาศัยดูจากนิตยสาร หรือหนังสือต่างๆ ที่จะช่วยได้มากขึ้น จนมีความชำนาญในการตัดสินใจตัวอย่างเช่น การออกแบบตู้เครื่องเสียง  เป็นการออกแบบจากการใช้ความแตกต่างของช่องว่างให้เหมาะสม ซึ่งจะได้ทั้งความสวยงามและประโยชน์อย่างเต็มที่  
อะไรที่ทำขึ้นเพื่อการออกแบบ
            การออกแบบเป็นการสร้างส่วนประกอบที่ แน่นอน โดยนำมาประกอบกันจนเกิดเป็นรูปร่างหรือชิ้นงานขึ้น การสร้างส่วนประกอบต้องอาศัยสิ่งต่อไปนี้
            เส้น (Line) เส้นเมื่อล้อมลอบช่องจะสร้างรูปร่างขึ้น เส้นสามารถบอกความรู้สึกได้ เช่นเส้นตามแนวขวางดูสงบเงียบ เส้นตั้งให้ความรู้สึกมีอำนาจ และเส้นเอียงดูเหมือนกับความก้าวร้าว เส้นแบบคลื่นสร้างความเคลื่อนไหวและมีจังหวะ ดังรูปที่ 3.11
            รูปร่าง (Shape) เป็น ช่องล้อมลอบด้วยเส้น อาจเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมผืนผ้า รูปหกเหลี่ยม และรูปแปดเหลี่ยม รูปเหล่านี้สามารถนำมาออกแบบเป็นงานไม้ที่สวยงามและเกิดประโยชน์ได้ ดังรูปที่ 3.12
            แบบ (Form) รูปร่างเป็นส่วนประกอบที่นำมาใช้ทำแบบ เช่น สี่เหลี่ยมลูกบาศก์ ปิรามิด หรือวงรี ซึ่งสามารถมองเห็นเป็น 3 มิติ (Three-dimensional) หมายถึง ความสูง ความกว้าง และความลึก
            สี (Color) นับว่ามีความสำคัญในการออกแบบ สีที่ให้ความรู้สึกอบอุ่นคือ สีแดง เหลือง และส้ม สีเขียวและสีน้ำเงินให้ความรู้สึกเย็น สีของไม้ถือว่าเป็นสีธรรมชาติที่ให้ความสวยงาม ซึ่งอาจไม่ต้องใช้สีช่วย แต่ไม้บางชนิดสีไม่สวยงามก็จะใช้สีย้อมสี หรือทาเคลือบ นอกจากี้การทำสีให้เกิดความมเงางามจะช่วยทำให้ชิ้นงานดูมีค่าและสวยงามมากขึ้น ดังรูปที่ 3.13

  วัสดุในงานไม้

            เราไม่สามารถกำหนดได้ว่าการเริ่มทำงานไม้ในโรงงานอย่างไรจึงจะดี ดังนั้นหากได้เรียนรู้เกี่ยวกับไม้ที่ใช้  จะช่วยให้ได้งานออกมาสวยงาม มีคุณภาพ การซื้อไม้ดีๆ จากโรงงาจะช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่าย วัสดุที่ได้ก็ไม่ด้อยคุณภาพ ในบทนี้จะขอกล่าวถึงวัสดุของงานไม้ที่นิยมใช้กัน

เเหล่งอ้างอิง 

http://www.st.ac.th/engin/wood.html